โครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ปี 2565
กรอบแนวคิดการดำเนินงานของโครงการ

ในการดำเนินงานโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนองตอบและขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ โดยการศึกษาจะดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้
- เพื่อจัดทำคู่มือ SEA ในรายสาขาและเชิงพื้นที่ จำนวนอย่างน้อย 2 แผน ที่ถูกกำหนดให้ต้องจัดทำ SEA ใน (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. …. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ SEA ของหน่วยงานเจ้าของแผนให้มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่ง 2 แผนดังกล่าวใช้ชื่อว่า การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผน
ด้านทรัพยากรน้ำ และการจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านมรดกโลกทางธรรมชาติ - เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพ ให้กับบุคลากรด้านการจัดทำแผนของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถนำ SEA
ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และเพื่อเตรียมการรองรับการพัฒนา SEA ในระยะต่อไป - เพื่อจัดทำคู่มือการติดตามและประเมินผลการจัดทำ SEA รวมทั้งศึกษาความจำเป็นในการกำหนดหรือปรับปรุง กฎ ระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบ SEA ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบเครื่องมือ สำหรับวิเคราะห์ และเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดทำ SEA โดยให้สามารถแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายรูปแบบอย่างเหมาะสมชัดเจน และเข้าใจง่าย เพื่อพัฒนาและต่อยอดการจัดทำเว็บไซต์ SEA ของ สศช. จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 รวมทั้งเตรียมความพร้อมของ สศช. ในการเป็นหน่วยงานหลักใน
การขับเคลื่อนประสานงาน SEA และสนับสนุนการพัฒนา ปรับปรุงเว็บไซต์ SEA ของ สศช. ให้สะดวก และง่ายต่อการใช้งาน - เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และเพื่อให้มีเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการร่วมผลักดันการนำ SEA ไปใช้ ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อน SEA
โดยกิจกกรมหลักของโครงการ ประกอบด้วย
- การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ
- การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านมรดกโลกทางธรรมชาติ
- การอบรมการการมีส่วนร่วม
- การอบรมหลักสูตรความรู้ด้าน SEA
- การศึกษาความจำเป็นในการกำหนดหรือปรับปรุง กฏ ระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง
- การจัดทำคู่มือติดตามและประเมินผล
- การสัมมนาเชิงวิชาการ
สำหรับผลการดำเนินงานการศึกษาและรายละเอียดการดำเนินงานทั้งหมดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการซึ่งประกอบด้วย
- รายงานฉบับสมบูรณ์
- ภาคผนวก
- รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร
- Executive Summary Report
การฝึกอบรม เรื่อง บทบาทภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดทำแผนด้วย SEA
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำ SEA ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในการจัดทำแผนด้วยกระบวนการ SEA ให้กับผู้เข้าอบรมจากภาคประชาชนและภาคประชาสังคม
- เพื่อสร้างเสริมความสามารถของภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการประยุกต์ใช้ SEA และการเตรียมความพร้อมสำหรับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วย SEA ได้อย่างเข้มแข็ง
- เพื่อให้ได้บทเรียนสำหรับปรับปรุงเนื้อหาและหลักสูตรการฝึกอบรมพัฒนาองค์ความรู้การจัดทำ SEA ในหัวข้อ บทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนด้วย SEA ให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำหรับการขยายผลต่อไป
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้นำชุมชน คณะกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาสังคมและอาสาสมัครเพื่อสังคม ผู้แทนภาคเอกชนและผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานด้านการปกครองที่เกี่ยวข้องโดยตรง จากพื้นที่รอยต่อเขตมรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และจากพื้นที่ลุ่มน้ำใกล้เคียง
ผลลัพธ์ที่ได้ : ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และเข้าใจขั้นตอนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วยกระบวนการ SEA ผ่านการปฏิบัติจริง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการด้วยการใช้กรณีศึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นตัวอย่างกรณีศึกษา
ซึ่งกิจกรรมการฝึกอบรมได้จัดขึ้น จำนวน 2 ครั้ง ที่จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดราชบุรี
เอกสารประกอบการประชุม
กำหนดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง บทบาทภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดทำแผนด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ ห้องธารทิพย์ โรงแรมแคนทารี ตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
08.30 – 09.00 น. | ลงทะเบียนเข้าร่วมการฝึกอบรม | |
09.00 – 09.10 น. | กล่าวเปิดการการอบรม โดย ดร.วิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | |
09.10 – 09.25 น. | ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ และวิธีการฝึกอบรม โดย รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ | |
09.25 – 09.40 น. | ประเมินความรู้ความเข้าใจ และรับฟังความคาดหวังของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เรื่อง การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการจัดทำ แผนด้วย SEA ดำเนินกระบวนการ โดย นางสินี ช่วงฉ่ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสังคม | |
09.40 – 10.25 น. | การบรรยาย ช่วงที่ 1 : • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการ SEA กับการจัดทำแผน • ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียโดยเฉพาะภาคประชาชนและ ภาคประชาสังคม • เทคนิค วิธีการวิเคราะห์ และการกำหนดองค์ประกอบผู้มีส่วนได้เสีย บรรยายโดย นางสินี ช่วงฉ่ำ รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ และ ดร.ชญาทัต เนียมแสวง | |
10.25 – 10.40 น. | —–พักรับประทานอาหารกลางวัน—– | |
10.40 – 11.40 น. | ปฏิบัติการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย ช่วงที่ 1: • ร่วมเรียนรู้สถานการณ์และประเด็นท้าทายของพื้นที่ศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม • การวิเคราะห์และระบุองค์ประกอบของผู้มีส่วนได้เสียในการจัดทำแผนด้วย SEA ดำเนินกระบวนการ โดยคณะวิทยากร | |
11.40 – 12.00 น. | นำเสนอผลปฏิบัติการกลุ่มย่อย ช่วงที่ 1 | |
12.00 – 13.00 น. | —–พักรับประทานอาหารกลางวัน—– | |
13.00 – 13.15 น. | การบรรยาย ช่วงที่ 2: • ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการ SEA ในแต่ละขั้นตอน • การวิเคราะห์บทบาทของผู้จัดทำ SEA และบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการจัดทำแผนด้วย SEA บรรยายโดย นางสินี ช่วงฉ่ำ | |
13.15 – 14.15 น. | ปฏิบัติการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย ช่วงที่ 2: การวิเคราะห์บทบาทของผู้ศึกษาจัดทำ SEA และผู้มีส่วนได้เสีย ในการจัดทำแผนด้วย SEA โดยเฉพาะภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ดำเนินกระบวนการ โดยคณะวิทยากร | |
14.15 – 14.35 น. | นำเสนอผลปฏิบัติการกลุ่มย่อย ช่วงที่ 2 | |
14.35 – 14.50 น. | —–พักรับประทานอาหารว่าง—– | |
14.50 – 15.05 น. | การบรรยาย ช่วงที่ 3: การเตรียมข้อมูลประกอบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการจัดทำ SEA บรรยายโดย ดร.ชญาทัต เนียมแสวง | |
15.05 – 15.45 น. | ปฏิบัติการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย ช่วงที่ 3: การเรียนรู้ตัวอย่างการรวบรวมข้อมูลโดยชุมชนเพื่อการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพในขั้นตอนต่าง ๆ ของการจัดทำ SEA ดำเนินกระบวนการ โดยคณะวิทยากร |
15.45 – 16.00 น. | นำเสนอผลปฏิบัติการกลุ่มย่อย ช่วงที่ 3 | |
16.00 – 16.25 น. | สรุปบทเรียน การนำไปประยุกต์ใช้ และประเมินผลความรู้หลังการฝึกอบรม บรรยายโดย นางสินี ช่วงฉ่ำ ดร.ชญาทัต เนียมแสวง | |
16.20 – 16.30 น. | ปิดการประชุม |
กำหนดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง บทบาทภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดทำแผนด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)
วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมเวลาดี 2 โรงแรม ณ เวลา ตำบลดอนตะโก อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
08.30 – 09.30 น. | ลงทะเบียนเข้าร่วมการฝึกอบรม | |
09.30 – 09.45 น. | กล่าวเปิดการการอบรม โดย นางสาวนุชจรี วงษ์สันต์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน | |
09.45 – 09.50 น. | ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ และวิธีการฝึกอบรม โดย รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ | |
09.50 – 10.00 น. | —–พักรับประทานอาหารว่าง—– | |
10.00 – 10.25 น. | ประเมินความรู้ความเข้าใจ และความคาดหวังของผู้เข้ารับการฝึกอบรม | |
10.25 – 11.00 น | การบรรยาย ช่วงที่ 1: | |
11.00 – 11.10 น. | ชี้แจงการปฏิบัติการกลุ่มย่อย | |
11.10– 11.55 น. | ปฏิบัติการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย ช่วงที่ 1: • ร่วมเรียนรู้สถานการณ์และประเด็นท้าทายของพื้นที่ศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม • การวิเคราะห์และระบุองค์ประกอบของผู้มีส่วนได้เสียในการจัดทำแผนด้วย SEA ดำเนินกระบวนการ โดยวิทยากรประจำกลุ่ม | |
11.55 – 12.15 น. | นำเสนอผลปฏิบัติการกลุ่มย่อย ช่วงที่ 1 | |
12.15 – 13.15 น. | —–พักรับประทานอาหารกลางวัน—– | |
13.15 – 13.30 น. | การบรรยาย ช่วงที่ 2: • ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการ SEA ในแต่ละขั้นตอน • การวิเคราะห์บทบาทการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการจัดทำแผนด้วย SEA บรรยายโดย อาจารย์สินี ช่วงฉ่ำ | |
13.30 – 14.15 น. | ปฏิบัติการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย ช่วงที่ 2: การวิเคราะห์บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย ในการจัดทำแผนด้วย SEA โดยเฉพาะภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ดำเนินกระบวนการ โดยวิทยากรประจำกลุ่ม | |
14.15 – 14.35 น. | นำเสนอผลปฏิบัติการกลุ่มย่อย ช่วงที่ 2 | |
14.35 – 14.50 น. | —–พักรับประทานอาหารว่าง—– | |
14.50 – 15.05 น. | การบรรยาย ช่วงที่ ๓: การเตรียมข้อมูลประกอบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการจัดทำ SEA บรรยายโดย ดร.ชญาทัต เนียมแสวง |
15.05 – 15.50 น. | ปฏิบัติการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย ช่วงที่ 3: การเรียนรู้ตัวอย่างการรวบรวมข้อมูลโดยชุมชนเพื่อการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพในขั้นตอนต่าง ๆ ของการจัดทำ SEA ด้วยความร่วมมือระหว่าง ผู้แทนภาคประชาชนและภาคประชาสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินกระบวนการ โดยวิทยากรประจำกลุ่ม | |
15.50 – 16.10 น. | นำเสนอผลปฏิบัติการกลุ่มย่อย ช่วงที่ 3 | |
16.10 – 16.30 น. | สรุปบทเรียน การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และประเมินผลความรู้หลังการฝึกอบรม ดำเนินการโดย อาจารย์สินี ช่วงฉ่ำ และ ดร.ชญาทัต เนียมแสวง และปิดการประชุม |