ข้อมูล ถาม / ตอบ

ความเข้าใจเกี่ยวกับ SEA

ตอบ

กระบวนการที่ใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นกรอบในการวางแผนหรือแผนงาน ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยและผลกระทบในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความสมดุล และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน  

ตอบ

เพราะ SEA เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับกระบวนการวางแผนและจัดทำแผน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการบูรณาการด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมองเห็นภาพการพัฒนาในอนาคตในทิศทางเดียวกัน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเลือกและการมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการอย่างเหมาะสมและโปร่งใสที่ผู้มีส่วนได้เสียกับการพัฒนาในพื้นที่ได้รับประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้งเกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ตอบ

ตอบ การทำ SEA จะช่วยให้ได้แผนพัฒนาที่ตรงกับความต้องการและช่วยแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ตรงประเด็น และได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความคุ้มค่าทั้งในแง่ของเวลา งบประมาณ และทรัพยากร โดยหน่วยงานสามารถนำ SEA ไปผนวกเข้าร่วมกับกระบวนการจัดทำแผนการพัฒนาตามภารกิจหลักของหน่วยงานต่าง ๆ ได้ ทั้งก่อนหรือระหว่างกระบวนการทบทวนแผนต่าง ๆ โดยสามารถกำหนดกรอบระยะเวลาจัดทำ SEA ให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดทำแผนดังกล่าวได้ โดยในระยะแรกอาจจะต้องใช้งบประมาณและระยะเวลาเพิ่มขึ้นในการจัดทำแผน แต่ในระยะยาว จะช่วยให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมและโปร่งใส สามารถลดความขัดแย้งระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และทำให้การดำเนินการตามแผนการพัฒนาสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

ตอบ

ไม่มีความซ้ำซ้อน เนื่องจากเครื่องมือทั้งสองเป็นเครื่องมือที่ถูกนำไปใช้ในระดับที่แตกต่างกัน คือ SEA ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผนและจัดทำแผนการพัฒนาในระดับนโยบาย แผน หรือแผนงาน ส่วน EIA เป็นเครื่องมือที่ถูกใช้ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระดับโครงการ ทั้งนี้ SEA จะเป็นเครื่องมือที่ถูกใช้เพื่อช่วยเสริมและแก้ไขข้อจำกัดของ EIA ที่ไม่สามารถใช้ในการวางแผนการพัฒนาในระดับภาพรวมได้ และทำให้โครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนการพัฒนา เกิดการบูรณาการด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตอบ

ถึงแม้ว่าจัดทำ SEA แล้วก็ยังต้องจัดทำ EIA ด้วย เนื่องจากเป็นการประเมินที่ต่างเป้าหมายกัน คือ SEA ต้องการการบูรณาการในระดับแผนหรือแผนงาน แต่ EIA ต้องการประเมินผลกระทบในระดับโครงการ ถึงแม้ว่าจะสนับสนุนกันแต่ไม่สามารถใช้ผลลัพธ์แทนกันได้

ในปัจจุบัน มีการกำหนดให้โครงการที่ต้องมีการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามมาตรา 48 ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้ต้องคำนึงถึงผลการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ด้วย (หากมี) ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 47 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 โดยผลจากการจัดทำ SEA จะถูกนำมาใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของรายละเอียดของโครงการว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับทางเลือกการพัฒนาอย่างไร ทำให้สามารถกำหนดรายละเอียดของการพัฒนาโครงการได้อย่างชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งช่วยลดระยะเวลาของการจัดทำ EIA อีกด้วย

ตอบ

ตอบ หน่วยงานทุกภาคส่วนจะได้รับประโยชน์จากการนำ SEA มาใช้ในทางปฏิบัติ คือ สำหรับภาคประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่นั้น ๆ จะมีโอกาสและช่องทางในการเสนอความคิดเห็นต่อแผนการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการอย่างถูกต้อง เหมาะสม และโปร่งใส เกิดกลไกในการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน และช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน

นอกจากนั้น ในส่วนของหน่วยงานในภาคส่วนของรัฐ เอกชน องค์กรต่าง ๆ หรือสถาบัน ก็สามารถนำ SEA มาใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มขีดความสามารถ ให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจและมุมมองการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เพิ่มขึ้นและชัดเจน ผ่านการจัดฝึกอบรม จัดประชุม และการถ่ายทอดองค์ความรู้

ตอบ

SEA ช่วยประสานประโยชน์ระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและผู้มีส่วนได้เสียได้จริงและมีความเป็นไปได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจาก SEA จะช่วยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมใน
การวางแผนอย่างเหมาะสมและโปร่งใสในทุกขั้นตอน ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างโปร่งใสและทันเวลา มีส่วนในการพิจารณาประเด็นสำคัญร่วมกัน ตลอดจนมีบทบาทร่วมในการตัดสินใจ โดยการพัฒนาและประเมินทางเลือกต่าง ๆ มีการตัดสินใจการพัฒนาร่วมกัน จนทำให้เกิดการยอมรับ ยอมได้และยอมเสีย
สร้างความประนีประนอมและลดความขัดแย้ง เนื่องจากมีส่วนร่วมตลอดระยะเวลา อีกทั้งยังช่วยหลีกเลี่ยง
ความสิ้นเปลืองงบประมาณ เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากความขัดแย้ง การต่อต้าน ความล่าช้าของแผนส่งผลให้ทุกภาคส่วนเกิดความสมานฉันท์ มีเป้าหมายในการพัฒนาร่วมกัน เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย และลดความขัดแย้งในการดำเนินงาน  

ตอบ

สำหรับหน่วยงานและประชาชน ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของ SEA ในการใช้สนับสนุนการวางแผนพัฒนาและการใช้ควบคู่กับการจัดทำและทบทวนแผนการพัฒนา สำหรับผู้จัดทำ SEA ต้องสามารถพัฒนากระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ในการศึกษา SEA ที่เหมาะสม เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาและประเมินทางเลือก และต้องสามารถดำเนินงาน SEA ให้ผลลัพธ์ที่เกิดการบูรณาการกับการจัดทำแผนการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดทำแนวทาง SEA เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องไว้ด้วยแล้ว

ตอบ

 

ความเข้าใจผิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
1) เสียเวลาและทรัพยากรที่มีจำกัด1) ไม่เสียเวลา เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำแผนหรือแผนงาน
2) ซ้ำซ้อนกับการดำเนินงานการจัดทำแผนหรือแผนงาน และ EIA2) เสริมและสนับสนุน ไม่ซ้ำซ้อนกับการดำเนินงานที่ใช้อยู่แล้ว
3) ยุ่งยาก ซับซ้อน ทั้งวิธีการและเทคนิค ไม่คุ้นเคยและยากเกินไป3) มีขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติ ตลอดจนวิธีการและเทคนิคหลากหลายให้เลือกใช้ มีความยืดหยุ่น
4) ไม่เหมาะสมไปใช้ในทางปฏิบัติจริง ขัดแย้งกับการจัดทำแผนที่ใช้อยู่แล้ว4) ปฏิบัติได้จริงโดยการมองไกลไปในอนาคต ด้วยวิสัยทัศน์การพัฒนาที่ยั่งยืน
5) เป็นเพียงตรายางรับรองให้โครงการดำเนินการต่อได้ ไม่ได้แก้ปัญหาความขัดแย้งได้จริง5) เป็นกระบวนการทำให้เกิดการยอมรับโดยผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน รวมถึงหน่วยงานเจ้าของแผนด้วย
6) ไม่มีกลไกกฎหมายรองรับ ไม่จำเป็นต้องศึกษาก็ได้ เป็นเพียงทางเลือกว่าจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้6) สามารถใช้แผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานต่างๆ เป็นกลไกอ้างอิงในการดำเนินงาน และหน่วยงานของรัฐปฏิบัติให้สอดคล้องกัน ด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
7) ไม่มีบุคลากรในการศึกษา เป็นความยุ่งยากของหน่วยงานเจ้าของแผนหรือแผนงาน7) หน่วยงานต้องพัฒนาขีดความสามารถในการจัดทำ SEA ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนภารกิจการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยหน่วยงานสามารถเป็นผู้จัดทำ SEA เองหรือจัดจ้างที่ปรึกษาก็ได้

ตอบ

การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ ต้องดำเนินงานโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบใน
การตัดสินใจในพื้นที่นั้นเป็นหลัก และพิจารณาประเด็นยุทธศาสตร์รายสาขา มาบูรณาการเข้ากับแผนหรือแผนงานเชิงพื้นที่ เช่น แผนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลของจังหวัดหนึ่ง เมื่อจัดทำ SEA หน่วยงานหลักรับผิดชอบจังหวัดนั้น เป็นเจ้าของแผนและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานพิจารณารายสาขาหรือประเด็นยุทธศาสตร์เข้าด้วยกัน เป็นต้น

ขั้นตอนกระบวนงานของ SEA

ตอบ

เนื่องจาก SEA เป็นเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นในการนำไปใช้ จึงมีการพัฒนาขั้นตอน กระบวนการและวิธีการที่หลากหลาย ในต่างประเทศ นักวิจัยและหน่วยงานระดับสากล และระดับประเทศต่าง ๆ ได้พยายามหาแนวทางปฏิบัติ กำหนดขั้นตอนของกระบวนการ วิธีการ และเทคนิคให้เหมาะสมกับบริบท และสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้ SEA มีขั้นตอน กระบวนการและวิธีการที่ยืดหยุ่น แต่ก็มีความชัดเจน น่าเชื่อถือ และสามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มีสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นฝ่ายเลขานุการร่วม ได้พัฒนาและปรับปรุงแนวทาง SEA เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ SEA อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเผยแพร่ในเว็บไซต์ของ สศช. ด้วย อย่างไรก็ตาม การพัฒนาแนวทาง SEA ของประเทศไทยยังคงจำเป็นจะต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ * การมีส่วนร่วม คือ ขั้นตอนที่บุคคล/ หน่วยงานเข้ามามีส่วนในกระบวนการตัดสินใจโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ รวมไปถึงข้อห่วงกังวลจาก ผู้มีส่วนได้เสีย โดยรูปแบบการมีส่วนร่วมสามารถ
ปรับเปลี่ยนได้แล้วแต่ความเหมาะสม

รูปภาพ ขั้นตอนการจัดทำ SEA

ตอบ

ตอบ ในระยะแรก คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้กำหนดให้ประเภทของแผนหรือแผนงาน ที่ต้อง
จัดทำการศึกษา SEA ไว้รวม 8 ประเภท ซึ่งระบุใน ร่าง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. …. ดังนี้

(1)  รายสาขา

        (1.1)   แผนด้านคมนาคม

        (1.2)   แผนพัฒนาพลังงานและแผนสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียม

        (1.3)   แผนการบริหารจัดการแร่

        (1.4)   แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

(2)  เชิงพื้นที่

        (2.1)   ผังเมือง ตามที่คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติกำหนด

        (2.2)   แผนบริหารจัดการลุ่มน้ำหรือแผนพัฒนาชายฝั่งทะเล

        (2.3)   แผนพัฒนาพื้นที่เฉพาะหรือพื้นที่พิเศษ

        (2.4)   แผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม หรือการพัฒนาพื้นที่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

(3)   แผนหรือแผนงานในรายสาขาหรือเชิงพื้นที่ นอกเหนือจาก (1) และ (2) ทั้งนี้ ตามที่ กสย. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

โดยรายละเอียดของระดับของแผนหรือแผนงาน ที่ต้องจัดทำ SEA ใน (1) และ (2) นั้น จะมีการกำหนดร่วมกับหน่วยงานเจ้าของแผนหรือแผนงานต่อไป

ทั้งนี้สำหรับหน่วยงานเจ้าของแผนหรือแผนงาน นอกเหนือจาก (1) และ (2) ที่ต้องการจัดทำ SEA สามารถดำเนินการได้ตามความเห็นชอบของหน่วยงานเจ้าของแผนหรือแผนงานนั้นๆ

ตอบ

การจัดทำ SEA จำเป็นที่จะต้องบูรณาการเข้ากับกระบวนการวางแผนหรือแผนงาน โดยการออกแบบและวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของกระบวนการวางแผนหรือแผนงานกับขั้นตอนการจัดทำ SEA เพื่อให้เกิด
การสื่อสาร แลกเปลี่ยนของผลลัพธ์ที่จะเกิดประโยชน์และใช้ประกอบในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนที่คู่ขนานกันไป โดยสร้างกลไกของการเชื่อมโยงให้ชัดเจน ตั้งแต่การกำหนดแผนการดำเนินการศึกษา โดยมีหลักการของการผนวกการจัดทำ SEA เข้ากับกระบวนการวางแผนหรือแผนงาน (ตามรูปภาพการผนวก
การจัดทำ SEA กับกระบวนการวางแผนหรือแผนงาน)

รูปภาพ การผนวกการจัดทำ SEA กับกระบวนการวางแผนหรือแผนงาน

กลไกการขับเคลื่อน SEA

ตอบ

ตอบ ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายเฉพาะ เพื่อบังคับใช้ให้หน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินงาน SEA แต่ได้เริ่มมีการกำหนดและผลักดันให้มีการนำ SEA มาใช้ในการวางแผนพัฒนาต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยกำหนดให้มีการผลักดันให้เกิดระบบการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ไว้ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) และและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) กำหนดให้มีการปรับปรุงกระบวนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ รวมทั้งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2565) กำหนดให้ผลักดันการนำแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

ดังนั้นคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) จึงมีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561 ให้มีการพัฒนากลไกการขับเคลื่อน SEA ด้วยการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐนำ SEA ไปใช้ในการจัดทำแผนหรือแผนงาน ในระยะเริ่มต้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบ สร้างองค์ความรู้ และเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ SEA ให้กับหน่วยงานและประชาชน

ตอบ

ต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกันว่า SEA เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทุกคนร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์และทางเลือกการพัฒนาที่เหมาะสมและสนองความต้องการต่อผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ ด้วยแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายระยะยาวร่วมกัน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยการส่งเสริมให้เกิดบริบทแวดล้อม ทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ สังคม และเศรษฐกิจ ที่เอื้อให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนและสร้างโอกาสการพัฒนาด้านต่างๆ ขณะที่หลีกเลี่ยง บรรเทา ลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาด้วย

ตอบ

จำเป็นอย่างยิ่งและคุ้มค่าในบริบทการพัฒนาประเทศในขณะนี้ ที่เน้นการสร้างดุลยภาพของการพัฒนา ทั้งในมิติเศรษฐกิจที่ต้องการเติบโตแข่งขันได้ พร้อมกับการพัฒนาสังคม ความเป็นอยู่ของประชาชน และยังคงรักษาฐานของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในภาพรวมของประเทศ การใช้เครื่องมือ SEA เป็นโอกาสที่สามารถสนองทุกภาคส่วน ทั้ง 3 มิติของการพัฒนา และสอดคล้องกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศไทย การขับเคลื่อนให้ SEA ใช้ในการบูรณาการการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีความคุ้มค่าต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว และพิจารณาความกดดันของข้อจำกัดของสังคมและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงยังขยายโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสมและพอเพียง

ตอบ

ร่าง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. ….ระบุหลักการให้ส่วนราชการต่าง ๆ เล็งเห็นความสำคัญของ SEA ให้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำแผนหรือแผนงานของหน่วยงานภาครัฐให้มีการคำนึงถึงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และปัจจัยอื่น ๆ และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ทั้งนี้คณะกรรมการส่งเสริมการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (กสย.) จะติดตามและประเมินผลการใช้ SEA ของหน่วยงานต่าง ๆ ว่าเป็นไปสอดคล้องกับนโยบายของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือไม่ และการรายงายผลของหน่วยงาน โดยวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการใช้ SEA เป็นระยะ ดังนั้นหากหน่วยงานไม่ทำ SEA ก็อาจไม่สามารถทำให้แผนหรือแผนงานในความรับผิดชอบมีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศได้

ตอบ

ในแนวทาง SEA ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ทำการศึกษา SEA ต้องมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ หน่วยงานเจ้าของแผนหรือแผนงานสามารถจัดทำ SEA เองได้ แต่หลักการหนึ่งของการทำ SEA คือมีความเป็นอิสระ เป็นกลาง ปราศจากแรงกดดันและความเอนเอียง ดังนั้น การจัดทำ SEA จึงสมควรที่หน่วยงานต้องพิจารณาว่าจะดำเนินงานเองหรืออาจพิจารณาให้ที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ซึ่งขึ้นทะเบียนของกระทรวงการคลัง เป็นผู้ศึกษาและเสนอให้หน่วยงานรับผิดชอบนำผลลัพธ์ไปบูรณาการกับ
การจัดทำแผนหรือแผนงาน

ตอบ

หน่วยงานเจ้าของแผนหรือแผนงานสามารถกำหนดกลไกเองในการพิจารณา อนุมัติหรือรับรอง SEA โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำกับการจัดทำ SEA หรือบูรณาการเข้าไปในคณะกรรมการที่มีหน้าที่กำกับการจัดทำแผนหรือแผนงาน เพื่อทำหน้าที่พิจารณา SEA และ/หรือแผนหรือแผนงานนั้น ๆ เพื่อเสนอขอ
ความเห็นชอบหรืออนุมัติแผนหรือแผนงาน ซึ่งได้บูรณาการผลของ SEA เข้าไปแล้ว จากคณะกรรมการระดับนโยบายหรือคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ คณะกรรมการส่งเสริมการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (กสย.) จะมีการติดตามผลการจัดทำและดำเนินงานตาม SEA ของหน่วยงานเจ้าของแผนหรือแผนงานเป็นระยะ ๆ เพื่อพัฒนาระบบ SEA ของประเทศ และเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

ตอบ

ผลของการทำ SEA เป็นดุลยพินิจของหน่วยงานเจ้าของแผนหรือแผนงาน จะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานอื่นในการนำไปใช้ และกระบวนการ SEA ไม่ใช่การดำเนินงานครั้งเดียว รอบเดียว แล้วเสร็จ แต่ต้องทบทวนใหม่ให้สอดคล้องกับรอบระยะเวลาของการจัดทำแผนหรือแผนงาน เช่น ทุก 5 ปี หรือ ทุก 10 ปี เป็นต้น

ตอบ

หน่วยงานเจ้าของแผนหรือแผนงาน มีหน้าที่โดยตรงในการติดตามตรวจสอบและประเมินว่าผลจาก SEA ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานพิจารณาตามแผนหรือแผนงานมากน้อย และมีประสิทธิผลหรือไม่ กลไกการติดตามตรวจสอบของหน่วยงานเจ้าของแผนหรือแผนงานเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการควบคุมคุณภาพของการใช้ SEA ซึ่งอาจใช้ผู้ติดตามตรวจสอบเป็นบุคคลภายนอกหรือคณะกรรมการกำกับฯ ก็ได้

ตอบ

หน่วยงานเจ้าของแผนหรือแผนงานต้องทบทวนมาตรการเพื่อความยั่งยืนว่าเหมาะสมต่อการนำไปปฏิบัติหรือไม่ อย่างไร ก่อนเป็นลำดับแรก และตรวจสอบประสิทธิผลของการบูรณาการ SEA กับแผนหรือแผนงานว่าประสบปัญหาอะไร เมื่อพบสาเหตุแล้ว ให้เริ่มกระบวนการปรับปรุงแผนหรือแผนงานดังกล่าว
เมื่อถึงระยะเวลาของการทบทวนแผนหรือแผนงานในระยะถัดไป เนื่องจากกระบวนการ SEA เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญในการปรับปรุงและการพัฒนา