โครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ปี 2565

กรอบแนวคิดการดำเนินงานของโครงการ

      ในการดำเนินงานโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและประเมินผลการขับเคลื่อน SEA ของไทยและการฝึกอบรม SEA ในช่วงที่ผ่านมา ตลอดจนวิเคราะห์การดำเนินการจัดทำ SEA ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA Guideline) ของประเทศไทย รวมทั้งศึกษาจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ในพื้นที่นำร่อง ต่อจากโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ปี 2563 และจัดทำคู่มือ SEA เชิงพื้นที่ เพื่อประกอบการจัดทำ SEA ของหน่วยงานวางแผนที่ถูกกำหนดให้ต้องจัดทำ SEA ให้มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนเพื่อฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำคู่มือ SEA ไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยกิจกกรมหลักของโครงการ ประกอบด้วย 

ให้มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนเพื่อฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำคู่มือ SEA ไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยกิจกกรมหลักของโครงการ ประกอบด้วย

  1. การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ สำหรับแผนจัดการทรัพยากรน้ำ
  2. การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ สำหรับแผนจัดการมรดกโลกทางธรรมชาติ
  3. การอบรมกระบวนการการมีส่วนร่วม
  4. การศึกษาความจำเป็นในการกำหนดหรือปรับปรุง กฏ ระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง
  5. การจัดทำคู่มือติดตามและประเมินผล
  6. การสัมมนาเชิงวิชาการ

สำหรับผลการดำเนินงานการศึกษาและรายละเอียดการดำเนินงานทั้งหมดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการซึ่งประกอบด้วย

  • รายงานฉบับสมบูรณ์
  • ภาคผนวก
  • รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร
  • Executive Summary Report

การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ

1.       วัตถุประสงค์ของการประชุม

1) เพื่อนำเสนอ (ร่าง) คู่มือการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ ที่ผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปพัฒนาและจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพต่อไป

2)    เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ SEA ในบริบทด้านมรดกโลก ความเชื่อมโยง
เพื่อการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติกับ SEA และการประยุกต์ใช้กระบวนการ SEA ใน
การจัดทำแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการนำคู่มือการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เชิงประยุกต์ ไปประยุกต์ใช้กับการวางแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนให้สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรม

2.       กลุ่มเป้าหมาย

ผู้เข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็นฯ ครั้งที่ 1 จำนวนอย่างน้อย 40 คน ประกอบด้วย ผู้แทนของหน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมชลประทาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น และภาคประชาสังคม เช่น สมาคมอุทยานแห่งชาติ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นต้น ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

3.       วัน เวลา และสถานที่จัดการระดมความคิดเห็น

การประชุมระดมความคิดเห็นฯ ครั้งที่ 1 ในวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.30 – 13.00 น. ณ ห้องแมนดาริน บี โรงแรมแมนดาริน (สามย่าน) กรุงเทพมหานคร

4.   ผลที่คาดว่าจะได้รับ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ได้รู้ถึงความสำคัญของกระบวนการ SEA ในการสนับสนุนการจัดทำคู่มือเพื่อการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของพื้นที่ทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เอกสารประกอบการประชุม