โครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ปี 2565

กรอบแนวคิดการดำเนินงานของโครงการ

       ในการดำเนินงานโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนองตอบและขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ โดยการศึกษาจะดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้

  • เพื่อจัดทำคู่มือ SEA ในรายสาขาและเชิงพื้นที่ จำนวนอย่างน้อย 2 แผน ที่ถูกกำหนดให้ต้องจัดทำ SEA ใน (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
    พ.ศ. …. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ 
    SEA ของหน่วยงานเจ้าของแผนให้มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่ง 2 แผนดังกล่าวใช้ชื่อว่า การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผน
    ด้านทรัพยากรน้ำ และการจัดทำคู่มือ 
    SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านมรดกโลกทางธรรมชาติ
  • เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพ ให้กับบุคลากรด้านการจัดทำแผนของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถนำ SEA 
    ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และเพื่อเตรียมการรองรับการพัฒนา SEA ในระยะต่อไป
  • เพื่อจัดทำคู่มือการติดตามและประเมินผลการจัดทำ SEA รวมทั้งศึกษาความจำเป็นในการกำหนดหรือปรับปรุง กฎ ระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบ SEA ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบเครื่องมือ สำหรับวิเคราะห์ และเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดทำ SEA โดยให้สามารถแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายรูปแบบอย่างเหมาะสมชัดเจน และเข้าใจง่าย เพื่อพัฒนาและต่อยอดการจัดทำเว็บไซต์ SEA ของ สศช. จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 รวมทั้งเตรียมความพร้อมของ สศช. ในการเป็นหน่วยงานหลักใน
    การขับเคลื่อนประสานงาน 
    SEA และสนับสนุนการพัฒนา ปรับปรุงเว็บไซต์ SEA ของ สศช. ให้สะดวก และง่ายต่อการใช้งาน
  • เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และเพื่อให้มีเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการร่วมผลักดันการนำ SEA ไปใช้ ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อน SEA

 โดยกิจกกรมหลักของโครงการ ประกอบด้วย

  • การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ
  • การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านมรดกโลกทางธรรมชาติ
  • การอบรมการการมีส่วนร่วม
  • การอบรมหลักสูตรความรู้ด้าน SEA
  • การศึกษาความจำเป็นในการกำหนดหรือปรับปรุง กฏ ระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง
  • การจัดทำคู่มือติดตามและประเมินผล
  • การสัมมนาเชิงวิชาการ

สำหรับผลการดำเนินงานการศึกษาและรายละเอียดการดำเนินงานทั้งหมดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการซึ่งประกอบด้วย

  • รายงานฉบับสมบูรณ์
  • ภาคผนวก
  • รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร
  • Executive Summary Report

การสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “บทเรียนจากการจัดทำแผนด้วย SEA สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”

  1. วัตถุประสงค์ของการสัมมนาเชิงวิชาการ
    • เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนและประสบการณ์จากการจัดทำแผนด้วย SEA ของหน่วยงานต่าง ๆ ในการสนับสนุนการนำ SEA ไปใช้ในการจัดทำแผนตามประเภทของแผนที่กำหนดไว้ในร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. …. ให้สามารถนำไปใช้ในการจัดทำแผนได้
      อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
    • เพื่อเสริมสร้างความความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกลไกขับเคลื่อน SEA โดยเฉพาะการใช้กฎหมายในการขับเคลื่อน SEA ในการจัดทำแผน
      ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปพัฒนาการขับเคลื่อนงาน SEA ของประเทศต่อไป
  2. กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงวิชาการจำนวน 81 คน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม เป็นต้น ตลอดจนภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ
    ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
  3. วัน เวลา และสถานที่จัดการระดมความคิดเห็น
    การสัมมนาเชิงวิชาการ ในวันอังคารที่ 24 มกราคม 2566 เวลา 08.30 – 14.00 น. ณ ห้องจามจุรี บอลรูม เอ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร
  4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    มีเวทีสำหรับให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากหน่วยงานที่เคยจัดทำกระบวนการ SEA ด้วยความสมัครใจและหน่วยงานที่จะต้องจัดทำแผนด้วยกระบวนการ SEA ตามประเภทที่ระบุไว้ในร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมิน
    สิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ ….. ที่ต้องเตรียมความพร้อมในการดำเนินการหลังจากร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ…. บังคับใช้ รวมทั้งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ สศช. ในการนำข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ได้จากการสัมมนาในครั้งนี้ไปเพิ่มเติมใน
    การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ได้อย่างถูกต้องและสะท้อนข้อเท็จจริงได้อย่างเหมาะสมตามบริบทของประเทศต่อไป

เอกสารประกอบการประชุม