โครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ปี 2563

รายละเอียดโครงการ

เป้าหมาย :

วัตถุประสงค์ :

info

การจัดทำ SEA ในพื้นที่นำร่องจังหวัดสระแก้ว

การเข้าพบและประชุมหารือโครงการติดตามและประเมินผลเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

วันพุธที่ 7 – วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม 2563 สภาพัฒน์ลงพื้นที่จังหวัดสระแก้ว เพื่อจัดทำโครงการติดตามและประเมินผลเขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) ปี 2563 เจ้าหน้าที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จำนวน 15 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่กองยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหาภาค กองยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม กองขับเคลื่อนและประเมินผลการพัฒนา และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง ร่วมกับที่ปรึกษาโครงการ บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียร์ริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ประกอบด้วย ผศ.ดร.เรวดี โรจนกนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และนางสาวศนิวาร บัวบาน ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคม ลงพื้นที่จังหวัดสระแก้วเพื่อติดตามผลการดำเนินการตามแผนย่อยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ในช่วง พ.ศ. 2561-2563 ภายใต้แผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ (9) ประเด็น เขตเศรษฐกิจพิเศษ (พ.ศ. 2561 – 2580) โดยนำแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนมาประยุกต์ใช้พัฒนา เพื่อจัดทำกรอบและข้อเสนอแนะ เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำกรอบการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเพื่อเป็นกรอบของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในระยะต่อไป ในครั้งนี้ คณะได้เข้าพบหัวหน้าหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 16 แห่ง ประกอบด้วย (1) นิคมอุตสาหกรรมสระแก้ว (2) ด่านศุลกากรอรัญประเทศ (3) สำนักงานจังหวัดสระแก้ว (4) สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสระแก้ว (5) สำนักงานสถิติจังหวัดสระแก้ว (6) สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระแก้ว (7) สำนักงานแรงงานจังหวัดสระแก้ว (8) สำนักงานจัดหางานจังหวัดสระแก้ว (9) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระแก้ว (10) สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสระแก้ว (11) หอการค้าจังหวัดสระแก้ว (12) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสระแก้ว (13) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสระแก้ว (14) สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสระแก้ว (15) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว และ (16) สถานีพัฒนาที่ดินสระแก้ว เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น รับทราบปัญหาและอุปสรรค และผลกระทบของการดำเนินงานในช่วงก่อนและหลังการประกาศพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว นอกจากนี้ คณะยังได้พบผู้แทนจากภาคประชาชนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ประกอบด้วยหน่วยงานท้องถิ่นจำนวน 4 ตำบล ได้แก่ (1) องค์การบริหารส่วนตำบลผักขะ (2) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม (3) เทศบาลตำบลบ้านด่าน และ (4) เทศบาลตำบลป่าไร่ เพื่อรับทราบปัญหา ข้อกังวล และผลกระทบด้านการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วจากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ คณะได้รวบรวมข้อมูล ประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลเขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว โดยในระยะต่อไป โครงการจะนำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) มาใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเพื่อเป็นกรอบของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในระยะต่อไป โดยจะมีการจัดประชุมระดมความคิดเห็นจำนวน 3 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียในการวิเคราะห์แรงขับเคลื่อนการพัฒนา กำหนดวิสัยทัศน์และประเด็นยุทธศาสตร์ กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและตัวชี้วัด ประเมินข้อมูลฐาน และกำหนดทางเลือกการพัฒนาเบื้องต้น ซึ่งการระดมความคิดเห็นในครั้งที่ 1 กำหนดไว้ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2563

 โดยผลลัพธ์จากกิจกรรมนี้จะนำไปเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการติดตามและประเมินผลเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว เพื่อนำเสนอให้กับคณะกรรมการ นโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษใช้ในการวางแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนต่อไป

เอกสาร
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เรื่อง การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์และผู้มีส่วนได้เสียโครงการติดตามและประเมินผลเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2563 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร่วมกับจังหวัดสระแก้ว ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เรื่อง การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์และผู้มีส่วนได้เสีย ภายใต้โครงการติดตามและประเมินผลเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ระยะที่ 1) ณ โรงแรมเดอะเวโล โฮเต็ล แอนด์ บีเอ็มเอ็กซ์ ปั๊มพ์ แทร็ค จังหวัดสระแก้ว ซึ่งโครงการติดตามและประเมินผลฯ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว (SEZ) ในระยะที่ผ่านมา และนำแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อเป็นตัวอย่างแนวทางปฏิบัติที่ดีในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ในการวางแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างบูรณาการ รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนา SEZ เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในระยะต่อไป การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ประชาชน และสถาบันการศึกษา ในการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระยะต่อไป โดยคำนึงถึงความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีนายเกียรติศักดิ์ จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวต้อนรับ และ ดร. วิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมสาระการประชุม ในช่วงแรกเป็นการให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ (1) การนำเสนอ ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ ของโครงการติดตามและประเมินผลเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย ดร. วิเทศ ศรีเนตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ที่ปรึกษาโครงการ (2) การบรรยาย เรื่อง แผนพัฒนาจังหวัดสระแก้ว และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว โดย คุณภูมิวัชร์ อุดมทรัพย์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสระแก้ว และ (3) การบรรยาย เรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว โดย ผศ.ดร. เรวดี โรจนกนันท์ และ คุณจักรกริช ธรรมศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEA หลังจากนั้นเป็นช่วงสำคัญของการประชุม คือ เปิดให้มีการระดมความคิดเห็น พร้อมนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อยใน 2 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 เรื่อง โอกาส ความท้าทาย ปัญหา อุปสรรค และความกังวล ในการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และ ช่วงที่ 2 เรื่อง ประเด็นยุทธศาสตร์ของ SEZ และการระบุและจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งได้แบ่งการระดมความคิดเห็นออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) กลุ่มภาครัฐ 1 (2) กลุ่มภาครัฐ 2  (3) กลุ่มภาคประชาสังคม ประชาชนและเอกชน และ (4) กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และรัฐวิสาหกิจ นอกจากนั้น มีการอภิปรายผลการประชุมในช่วงท้าย โดยมีผู้ร่วมอภิปราย ประกอบด้วย (1) คุณธีรพล ศรีโมรา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระแก้ว(2) คุณสุเทพ ตั้งเทียนทอง รองประธานหอการค้าจังหวัดสระแก้ว และ (3) คุณศรีวรรณ อนันตผล สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสระแก้ว โดยมี ดร.วิเทศ ศรีเนตร เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ทั้งนี้ ผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะนำไปวิเคราะห์เพื่อจัดทำวิสัยทัศน์และประเด็นยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและตัวชี้วัด และแผนการมีส่วนร่วมและการสื่อสาร เพื่อนำมาประกอบในกระบวนการ SEA และนำเสนอความก้าวหน้าให้กับผู้มีส่วนได้เสียเป็นระยะ ๆ 

โดยผลลัพธ์ที่ได้จากกิจกรรมนี้จะนำไป การประเมินข้อมูลฐาน เป็นการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของตัวชี้วัดต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่จะนำไปใช้ประกอบการพัฒนาทางเลือกเบื้องต้น ซึ่งเป็นการระบุความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาของแผนเบื้องต้น ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นกรอบในการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการมีส่วนร่วม และพัฒนาทางเลือกในขั้นตอนต่อไป

เอกสาร
การประชุมกลุ่มย่อยแบบออนไลน์ (Online Focus Group) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Video Conference)โครงการติดตามและประเมินผลเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในวันที่ 14 – วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยกองยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยแบบออนไลน์ (Online Focus Group) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Video Conference) มีผู้ร่วมประชุมจากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 57 ราย โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ และ ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน เป็นผู้นำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการในช่วงที่ผ่านมา สรุปผลประเด็นการกำหนดยุทธศาสตร์ การกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและตัวชี้วัด ผลการประเมินข้อมูลฐาน ทางเลือกและตัวชี้วัดการประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อนำเสนอประเด็นยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและตัวชี้วัด รวมถึงผลการประเมินข้อมูลฐาน (2) เพื่อรับฟังความเห็น และข้อเสนอแนะต่อผลการจัดทำ (ร่าง) รายงานการกำหนดขอบเขต โดยแบ่งการประชุมออกเป็น 7 กลุ่ม แยกตามประเด็นยุทธศาสตร์และข้อเสนอแนะของโครงการ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียร่วมกันให้ความเห็นในแต่ละด้านได้อย่างชัดเจน ตรงประเด็น ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 : เกษตรแปรรูป (หน่วยงานราชการ) กลุ่มที่ 2 : เกษตรแปรรูป (ภาคประชาชน) กลุ่มที่ 3 : การจัดการขยะและกฎหมายผังเมือง กลุ่มที่ 4 : การพัฒนาการท่องเที่ยว กลุ่มที่ 5 : การพัฒนาทักษะแรงงาน กลุ่มที่ 6 : สิทธิประโยชน์การลงทุน กลุ่มที่ 7 : ตัวแทนกลุ่มที่ 1-6 (สรุปผลภาพรวมหลังจากรับฟังความคิดเห็น) โดยผลผลิตที่สำคัญที่คาดหวังจากการดำเนินการครั้งนี้ (1) ผลการติดตามและประเมินผลเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสระแก้ว เพื่อนำเสนอให้กับคณะกรรมการ นโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษใช้ในการวางแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนต่อไป (2) การประเมินข้อมูลฐาน เป็นการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของตัวชี้วัดต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่จะนำไปใช้ประกอบการพัฒนาทางเลือกเบื้องต้น ซึ่งเป็นการระบุความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาของแผนเบื้องต้น เพื่อนำไปใช้เป็นกรอบในการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการมีส่วนร่วม และพัฒนาทางเลือกในขั้นตอนต่อไป (3) แผนการมีส่วนร่วมและการสื่อสาร ที่กำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมที่เชื่อมโยงกับกระบวนการแต่ละขั้นตอนของ SEA เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย (4) รายงานการกำหนดขอบเขต ซึ่งรวมผลของวิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน ตัวชี้วัด และทางเลือกการพัฒนาเบื้องต้น ซึ่งจะนำไปใช้เป็นกรอบในการดำเนินการ SEA ในขั้นตอนถัดไป

เอกสาร