โครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ปี 2564
กรอบแนวคิดการดำเนินงานของโครงการ

ในการดำเนินงานโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและประเมินผลการขับเคลื่อน SEA ของไทยและการฝึกอบรม SEA ในช่วงที่ผ่านมา ตลอดจนวิเคราะห์การดำเนินการจัดทำ SEA ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA Guideline) ของประเทศไทย รวมทั้งศึกษาจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ในพื้นที่นำร่อง ต่อจากโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ปี 2563 และจัดทำคู่มือ SEA เชิงพื้นที่ เพื่อประกอบการจัดทำ SEA ของหน่วยงานวางแผนที่ถูกกำหนดให้ต้องจัดทำ SEA ให้มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนเพื่อฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำคู่มือ SEA ไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยกิจกกรมหลักของโครงการ ประกอบด้วย
ให้มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนเพื่อฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำคู่มือ SEA ไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยกิจกกรมหลักของโครงการ ประกอบด้วย
- การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ สำหรับแผนจัดการทรัพยากรน้ำ
- การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ สำหรับแผนจัดการมรดกโลกทางธรรมชาติ
- การอบรมกระบวนการการมีส่วนร่วม
- การศึกษาความจำเป็นในการกำหนดหรือปรับปรุง กฏ ระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง
- การจัดทำคู่มือติดตามและประเมินผล
- การสัมมนาเชิงวิชาการ
สำหรับผลการดำเนินงานการศึกษาและรายละเอียดการดำเนินงานทั้งหมดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการซึ่งประกอบด้วย
- รายงานฉบับสมบูรณ์
- ภาคผนวก
- รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร
- Executive Summary Report
การฝึกอบรมด้านกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาด้วย SEA
สศช. ได้ดำเนินการโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ อย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ SEA ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านการจัดฝึกอบรมทางวิชาการด้าน SEA ให้กับผู้ทำการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกิจกรรมการฝึกอบรมภายใต้โครงการฯ ปี 2565 ได้มีการดำเนินการอบรม 1 หลักสูตร จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่
บทบาทภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดทำแผนด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อม
ระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA)
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำ SEA ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในการจัดทำแผนด้วยกระบวนการ SEA ให้กับผู้เข้าอบรมจากภาคประชาชนและภาคประชาสังคม
- เพื่อสร้างเสริมความสามารถของภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการประยุกต์ใช้ SEA และการเตรียมความพร้อมสำหรับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วย SEA ได้อย่างเข้มแข็ง
- เพื่อให้ได้บทเรียนสำหรับปรับปรุงเนื้อหาและหลักสูตรการฝึกอบรมพัฒนาองค์ความรู้การจัดทำ SEA ในหัวข้อ บทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนด้วย SEA ให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำหรับการขยายผลต่อไป
วัน เวลา และสถานที่ : ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ณ โรงแรมแคนทารี ตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้นำชุมชน คณะกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาสังคมและอาสาสมัครเพื่อสังคม ผู้แทนภาคเอกชนและผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานด้านการปกครอง
ที่เกี่ยวข้องโดยตรง จากพื้นที่รอยต่อเขตมรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และจากพื้นที่ลุ่มน้ำใกล้เคียงจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 64 คน
ผลลัพธ์ที่ได้ : ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และเข้าใจขั้นตอนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วยกระบวนการ SEA ผ่านการปฏิบัติจริง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการด้วยการใช้กรณีศึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นตัวอย่างกรณีศึกษา
กำหนดการ
กำหนดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง บทบาทภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดทำแผน
ด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA)
ภายใต้ การดำเนินการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)
ประจำปีงบประมาณ 2565
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30-16.30 น.
ณ ห้องธารทิพย์ โรงแรมแคนทารี ตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
บทบาทภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดทำแผนด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อม
ระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA)
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำ SEA ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในการจัดทำแผนด้วยกระบวนการ SEA ให้กับผู้เข้าอบรมจากภาคประชาชนและภาคประชาสังคม
- เพื่อสร้างเสริมความสามารถของภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการประยุกต์ใช้ SEA และการเตรียมความพร้อมสำหรับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วย SEA ได้อย่างเข้มแข็ง
- เพื่อให้ได้บทเรียนสำหรับปรับปรุงเนื้อหาและหลักสูตรการฝึกอบรมพัฒนาองค์ความรู้การจัดทำ SEA ในหัวข้อ บทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนด้วย SEA ให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำหรับการขยายผลต่อไป
วัน เวลา และสถานที่ : ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ณ โรงแรมแคนทารี ตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้นำชุมชน คณะกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาสังคมและอาสาสมัครเพื่อสังคม ผู้แทนภาคเอกชนและผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานด้านการปกครอง
ที่เกี่ยวข้องโดยตรง จากพื้นที่รอยต่อเขตมรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และจากพื้นที่ลุ่มน้ำใกล้เคียงจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 64 คน
ผลลัพธ์ที่ได้ : ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และเข้าใจขั้นตอนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วยกระบวนการ SEA ผ่านการปฏิบัติจริง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการด้วยการใช้กรณีศึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นตัวอย่างกรณีศึกษา
กำหนดการ
กำหนดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง บทบาทภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดทำแผน
ด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA)
ภายใต้ การดำเนินการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)
ประจำปีงบประมาณ 2565
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30-16.30 น.
ณ ห้องธารทิพย์ โรงแรมแคนทารี ตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565 | ||
08.30 – 09.00 น. | ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม ฯ ตรวจคัดกรอง Covid-19 | |
09.00 – 09.30 น. | สรุปบทเรียนของวันที่ 1 และทำความเข้าใจบทบาทที่แลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่ม | |
09.30 – 10.00 น. | การบรรยาย เรื่อง กระบวนการมีส่วนร่วมด้วยสันติวิธี โดย ผู้แทนจากสถาบันพระปกเกล้า* | |
10.00 – 10.30 น. | การเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติ (Workshop) ช่วงที่ 3: กระบวนการมีส่วนร่วม โดยจำลองผ่านขั้นตอนการพัฒนาและประเมินทางเลือก กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ศึกษำ SEA: เรียนรู้ทัศนคติ ความแตกต่าง และความหลากหลายของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย: เรียนรู้วิธีการและเทคนิคของผู้ศึกษาในกระบวนการมีส่วนร่วม (การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย) | |
10.30 – 10.45 น | —–พักรับประทานอาหารว่าง—– | |
10.45 – 11.45 น. | การเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติ (Workshop) ช่วงที่ 4: กระบวนการมีส่วนร่วม โดยจำลองผ่านขั้นตอนการพัฒนาและประเมินทางเลือก (ต่อ) และมาตรการเพื่อความยั่งยืน กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ศึกษำ SEA: เรียนรู้ทัศนคติ ความแตกต่าง และความหลากหลายของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย: เรียนรู้วิธีการและเทคนิคของผู้ศึกษาในกระบวนการมีส่วนร่วม (การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย) | |
11.45 – 12.00 น. | สรุปประเด็นสำคัญ พร้อมถาม – ตอบ คำถามร่วมกับวิทยากรประจำกลุ่ม | |
12.00 – 13.00 น. | —–พักรับประทานอาหารกลางวัน—– | |
13.00 – 14.00 น. | การเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติ (Workshop) ช่วงที่ 5: กำรเรียนรู้การดำเนินงานสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วม โดยจำลองผ่านขั้นตอนการพัฒนาและประเมินทางเลือก และมาตรการเพื่อความยั่งยืน กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ศึกษำ SEA: วิเคราะห์และทำความเข้าใจข้อมูลจากการสื่อสาร กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย: เรียนรู้การสื่อสารที่สร้างความเข้าใจต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย | |
14.00 – 14.15 น. | สรุปประเด็นสำคัญ พร้อมถาม – ตอบ คำถามร่วมกับวิทยากรประจำกลุ่มและสรุปบทเรียนวันที่ 2 | |
14.15 – 15.00 น. | การนำเสนอผลการฝึกอบรมของทั้ง 2 กลุ่ม และประเมินผลการฝึกอบรม | |
15.00 – 15.30 น. | พิธีปิดการฝึกอบรม |