โครงการขับเคลื่อน SEA

การขับเคลื่อน SEA ปีงบประมาณ 2565

กรอบแนวคิดการดำเนินงานของโครงการ
ในการดำเนินงานโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนองตอบและขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ โดยการศึกษาจะดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้
  • เพื่อจัดทำคู่มือ SEA ในรายสาขาและเชิงพื้นที่ จำนวนอย่างน้อย 2 แผน ที่ถูกกำหนดให้ต้องจัดทำ SEA ใน (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. …. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ SEA ของหน่วยงานเจ้าของแผนให้มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่ง 2 แผนดังกล่าวใช้ชื่อว่า การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผน ด้านทรัพยากรน้ำ และการจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านมรดกโลกทางธรรมชาติ
  • เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพ ให้กับบุคลากรด้านการจัดทำแผนของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถนำ SEA ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และเพื่อเตรียมการรองรับการพัฒนา SEA ในระยะต่อไป
  • เพื่อจัดทำคู่มือการติดตามและประเมินผลการจัดทำ SEA รวมทั้งศึกษาความจำเป็นในการกำหนดหรือปรับปรุง กฎ ระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบ SEA ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบเครื่องมือ สำหรับวิเคราะห์ และเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดทำ SEA โดยให้สามารถแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายรูปแบบอย่างเหมาะสมชัดเจน และเข้าใจง่าย เพื่อพัฒนาและต่อยอดการจัดทำเว็บไซต์ SEA ของ สศช. จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 รวมทั้งเตรียมความพร้อมของ สศช. ในการเป็นหน่วยงานหลักใน การขับเคลื่อนประสานงาน SEA และสนับสนุนการพัฒนา ปรับปรุงเว็บไซต์ SEA ของ สศช. ให้สะดวก และง่ายต่อการใช้งาน
  • เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และเพื่อให้มีเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการร่วมผลักดันการนำ SEA ไปใช้ ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อน SEA
โดยกิจกกรมหลักของโครงการ ประกอบด้วย
  • การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ
  • การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านมรดกโลกทางธรรมชาติ
  • การอบรมการการมีส่วนร่วม
  • การอบรมหลักสูตรความรู้ด้าน SEA
  • การศึกษาความจำเป็นในการกำหนดหรือปรับปรุง กฏ ระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง
  • การจัดทำคู่มือติดตามและประเมินผล
  • การสัมมนาเชิงวิชาการ
สำหรับผลการดำเนินงานการศึกษาและรายละเอียดการดำเนินงานทั้งหมดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการซึ่งประกอบด้วย
การฝึกอบรม เรื่อง บทบาทภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดทำแผนด้วย SEA
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำ SEA ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในการจัดทำแผนด้วยกระบวนการ SEA ให้กับผู้เข้าอบรมจากภาคประชาชนและภาคประชาสังคม
  • เพื่อสร้างเสริมความสามารถของภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการประยุกต์ใช้ SEA และการเตรียมความพร้อมสำหรับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วย SEA ได้อย่างเข้มแข็ง
  • เพื่อให้ได้บทเรียนสำหรับปรับปรุงเนื้อหาและหลักสูตรการฝึกอบรมพัฒนาองค์ความรู้การจัดทำ SEA ในหัวข้อ บทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนด้วย SEA ให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำหรับการขยายผลต่อไป
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้นำชุมชน คณะกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาสังคมและอาสาสมัครเพื่อสังคม ผู้แทนภาคเอกชนและผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานด้านการปกครองที่เกี่ยวข้องโดยตรง จากพื้นที่รอยต่อเขตมรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และจากพื้นที่ลุ่มน้ำใกล้เคียง
ผลลัพธ์ที่ได้
ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และเข้าใจขั้นตอนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วยกระบวนการ SEA ผ่านการปฏิบัติจริง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการด้วยการใช้กรณีศึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นตัวอย่างกรณีศึกษา
ซึ่งกิจกรรมการฝึกอบรมได้จัดขึ้น จำนวน 2 ครั้ง ที่จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดราชบุรี
กำหนดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง บทบาทภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดทำแผนด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องธารทิพย์ โรงแรมแคนทารี ตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการฝึกอบรม
09.00 – 09.10 น. กล่าวเปิดการการอบรม โดย ดร.วิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
09.10 – 09.25 น. ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ และวิธีการฝึกอบรม โดย รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ
09.25 – 09.40 น. ประเมินความรู้ความเข้าใจ และรับฟังความคาดหวังของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เรื่อง การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการจัดทำ แผนด้วย SEA ดำเนินกระบวนการ โดย นางสินี ช่วงฉ่ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสังคม
09.40 – 10.25 น. การบรรยาย ช่วงที่ 1:
  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการ SEA กับการจัดทำแผน
  • ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียโดยเฉพาะภาคประชาชนและภาคประชาสังคม
  • เทคนิค วิธีการวิเคราะห์ และการกำหนดองค์ประกอบผู้มีส่วนได้เสีย
บรรยายโดย นางสินี ช่วงฉ่ำ รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ และ ดร.ชญาทัต เนียมแสวง
10.25 – 10.40 น. —–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
10.40 – 11.40 น. ปฏิบัติการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย ช่วงที่ 1:
  • ร่วมเรียนรู้สถานการณ์และประเด็นท้าทายของพื้นที่ศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • การวิเคราะห์และระบุองค์ประกอบของผู้มีส่วนได้เสียในการจัดทำแผนด้วย SEA
  • เทคนิค วิธีการวิเคราะห์ และการกำหนดองค์ประกอบผู้มีส่วนได้เสีย
ดำเนินกระบวนการ โดยคณะวิทยากร
11.40 – 12.00 น. นำเสนอผลปฏิบัติการกลุ่มย่อย ช่วงที่ 1
12.00 – 13.00 น. —–—–พักรับประทานอาหารกลางวัน—–—–
13.00 – 13.15 น. การบรรยาย ช่วงที่ 2:
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการ SEA ในแต่ละขั้นตอน
  • การวิเคราะห์บทบาทของผู้จัดทำ SEA และบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการจัดทำแผนด้วย SEA
บรรยายโดย นางสินี ช่วงฉ่ำ
13.15 – 14.15 น. ปฏิบัติการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย ช่วงที่ 2: การวิเคราะห์บทบาทของผู้ศึกษาจัดทำ SEA และผู้มีส่วนได้เสีย ในการจัดทำแผนด้วย SEA โดยเฉพาะภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ดำเนินกระบวนการ โดยคณะวิทยากร
14.15 – 14.35 น. นำเสนอผลปฏิบัติการกลุ่มย่อย ช่วงที่ 2
14.35 – 14.50 น. —–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
14.50 – 15.05 น. การบรรยาย ช่วงที่ 3: การเตรียมข้อมูลประกอบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการจัดทำ SEA บรรยายโดย ดร.ชญาทัต เนียมแสวง
15.05 – 15.45 น. ปฏิบัติการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย ช่วงที่ 3: การเรียนรู้ตัวอย่างการรวบรวมข้อมูลโดยชุมชนเพื่อการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพในขั้นตอนต่าง ๆ ของการจัดทำ SEA ดำเนินกระบวนการ โดยคณะวิทยากร
15.45 – 16.00 น. นำเสนอผลปฏิบัติการกลุ่มย่อย ช่วงที่ 3
16.00 – 16.25 น. สรุปบทเรียน การนำไปประยุกต์ใช้ และประเมินผลความรู้หลังการฝึกอบรม บรรยายโดย นางสินี ช่วงฉ่ำ ดร.ชญาทัต เนียมแสวง
16.20 – 16.30 น. ปิดการประชุม
กำหนดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง บทบาทภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดทำแผนด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)
วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมเวลาดี 2 โรงแรม ณ เวลา ตำบลดอนตะโก อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

08.30 – 09.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการฝึกอบรม
09.30 – 09.45 น. กล่าวเปิดการการอบรม โดย นางสาวนุชจรี วงษ์สันต์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน
09.45 – 09.50 น. ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ และวิธีการฝึกอบรม โดย รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ
09.50 – 10.00 น. —–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
10.00 – 10.25 น. ประเมินความรู้ความเข้าใจ และความคาดหวังของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ดำเนินกระบวนการ โดยวิทยากรประจำกลุ่ม ประกอบด้วย
  • รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEA
  • อาจารย์สินี ช่วงฉ่ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทางสังคม
  • ดร.ชญาทัต เนียมแสวง ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEA
  • ดร.กฤศ ฉายแสงเดือน ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
  • ดร.ศุภวรรณ ขันโททอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทางสิ่งแวดล้อม
บรรยายโดย นางสินี ช่วงฉ่ำ รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ และ ดร.ชญาทัต เนียมแสวง
10.25 – 11.00 น. การบรรยาย ช่วงที่ 1:
  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการ SEA กับการจัดทำแผน
  • ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียโดยเฉพาะภาคประชาชนและภาคประชาสังคม
  • เทคนิค วิธีการวิเคราะห์ และการกำหนดองค์ประกอบผู้มีส่วนได้เสีย
บรรยายโดย รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ และ ดร.ชญาทัต เนียมแสวง
11.00 – 11.10 น. ชี้แจงการปฏิบัติการกลุ่มย่อย บรรยายโดย อาจารย์สินี ช่วงฉ่ำ
11.10– 11.55 น. ปฏิบัติการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย ช่วงที่ 1:
  • ร่วมเรียนรู้สถานการณ์และประเด็นท้าทายของพื้นที่ศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • การวิเคราะห์และระบุองค์ประกอบของผู้มีส่วนได้เสียในการจัดทำแผนด้วย SEA
ดำเนินกระบวนการ โดยวิทยากรประจำกลุ่ม
11.55 – 12.15 น. นำเสนอผลปฏิบัติการกลุ่มย่อย ช่วงที่ 1
12.15 – 13.15 น. —–—–พักรับประทานอาหารกลางวัน—–—–
13.15 – 13.30 น. การบรรยาย ช่วงที่ 2:
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการ SEA ในแต่ละขั้นตอน
  • การวิเคราะห์บทบาทการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการจัดทำแผนด้วย SEA
บรรยายโดย อาจารย์สินี ช่วงฉ่ำ
13.30 – 14.15 น. ปฏิบัติการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย ช่วงที่ 2: การวิเคราะห์บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย ในการจัดทำแผนด้วย SEA โดยเฉพาะภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ดำเนินกระบวนการ โดยวิทยากรประจำกลุ่ม
14.15 – 14.35 น. นำเสนอผลปฏิบัติการกลุ่มย่อย ช่วงที่ 2
14.35 – 14.50 น. —–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
14.50 – 15.05 น. การบรรยาย ช่วงที่ 3: การเตรียมข้อมูลประกอบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการจัดทำ SEA บรรยายโดย ดร.ชญาทัต เนียมแสวง
15.05 – 15.50 น. ปฏิบัติการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย ช่วงที่ 3: การเรียนรู้ตัวอย่างการรวบรวมข้อมูลโดยชุมชนเพื่อการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพในขั้นตอนต่าง ๆ ของการจัดทำ SEA ด้วยความร่วมมือระหว่าง ผู้แทนภาคประชาชนและภาคประชาสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินกระบวนการ โดยวิทยากรประจำกลุ่ม
15.50 – 16.10 น. นำเสนอผลปฏิบัติการกลุ่มย่อย ช่วงที่ 3
16.10 – 16.30 น. สรุปบทเรียน การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และประเมินผลความรู้หลังการฝึกอบรม ดำเนินการโดย อาจารย์สินี ช่วงฉ่ำ และ ดร.ชญาทัต เนียมแสวง และปิดการประชุม
การฝึกอบรม เรื่อง การกําหนดตัวชี้วัด การพัฒนาทางเลือกและการประเมินทางเลือกในการจัดทําแผนพัฒนาด้วย SEA
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เชิงลึก พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรหน่วยงานเจ้าของแผนให้สามารถนํา SEA ไปใช้ในการจัดทําแผนในมิติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยเฉพาะในส่วนของการวิเคราะห์ตัวชี้วัด และการพัฒนาทางเลือกและการประเมินทางเลือก
  • เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักการ มุมมองการประยุกต์ใช้ SEA ร่วมกับหน่วยงานเจ้าของแผน พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนําไปพัฒนาและขับเคลื่อนงานSEA ของประเทศให้มีประสิทธิภาพต่อไป
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยงานภาครัฐ เช่น สํานักนายกรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม เป็นต้น
ผลลัพธ์ที่ได้
ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสําคัญของกระบวนการ SEA ทราบเทคนิค วิธีมุมมองในการจัดทํา SEA โดยเฉพาะด้านการกําหนดตัวชี้วัด การพัฒนาและการประเมินทางเลือกในการจัดทําแผนพัฒนาด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ SEA และสามารถนําองค์ความรู้ที่ฝึกอบรมไปใช้ในการจัดทําแผนของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งกิจกรรมการฝึกอบรมได้จัดขึ้น จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 60 คน
เอกสารประกอบการประชุม.
กำหนดการจัดฝึกอบรมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)
เรื่อง “การกำหนดตัวชี้วัด การพัฒนาทางเลือกและการประเมินทางเลือก ในการจัดทำแผนพัฒนาด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์”
ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 23 – 24 พฤษภาคม 2566 ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 25 – 26 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมแคทลียา 1 โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 1 ®
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรม
09.00 – 09.15 น. ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม (Pre-test)
09.15 – 09.30 น. กล่าวเปิดการอบรม โดย นางสาวนุชจรี วงษ์สันต์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน
09.25 – 09.40 น. อธิบาย กำหนดการ รูปแบบ และกิจกรรมการอบรม โดย อาจารย์สินี ช่วงฉ่ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทางสังคม
09.40 – 09.50 น. —–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
09.50 – 11.30 น. ช่วงที่ 1 : การบรรยาย เรื่อง โดย รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ และ ดร.ชญาทัต เนียมแสวง ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
11.30 – 12.00 น. ช่วงที่ 2 : การอธิบาย ข้อมูลพื้นฐานของกรณีศึกษาลุ่มน้ำมูล
  • ข้อมูลพื้นฐานของลุ่มน้ำมูล
  • เป้าหมายการพัฒนา
  • ประเด็นยุทธศาสตร์
  • วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดย รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ
12.00 – 13.00 น. —–—–พักรับประทานอาหารกลางวัน—–—–
13.00 – 13.30 น. ช่วงที่ 3 : การบรรยาย เรื่อง การกำหนดตัวชี้วัด
  • วิธีการทบทวนและระบุตัวชี้วัด
  • วิธีการจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัด
โดย ดร.ชญาทัต เนียมแสวง
13.30 – 14.40 น. ช่วงที่ 4 : การเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติ (Workshop) เรื่อง การกำหนดตัวชี้วัด ดำเนินกระบวนการโดยวิทยากรกลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 – รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ กลุ่มที่ 2 – อาจารย์สินี ช่วงฉ่ำ และ ดร.กฤศ ฉายแสงเดือน กลุ่มที่ 3 – ดร.ชญาทัต เนียมแสวง
14.40 – 14.50 น. —–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
14.50 – 16.00 น. ช่วงที่ 4 : การเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติ (Workshop) (ต่อ)
16.00 – 16.30 น. ช่วงที่ 5 : การนำเสนอและสรุปผล การกำหนดตัวชี้วัด
  • การนำเสนอผลของการกำหนดตัวชี้วัดของแต่ละกลุ่ม
  • ร่วมกันอภิปรายซักถาม ตอบข้อสงสัย
  • การสรุปผลตัวชี้วัดรวม (ระดับลุ่มน้ำ)
  • การสรุปบทเรียนการกำหนดตัวชี้วัด
วันที่ 2 ®
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรม วันที่ 2
09.00 – 09.15 น. ทบทวนความรู้จากการฝึกอบรมของวันที่ 1 และนำเสนอผลการจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัด โดย ดร.ชญาทัต เนียมแสวง
09.15 – 09.30 น. อธิบายกิจกรรมการอบรม วันที่ 2 โดย อาจารย์สินี ช่วงฉ่ำ
09.30 – 09.45 น. ช่วงที่ 6 : การบรรยาย เรื่อง การพัฒนาทางเลือก
  • หลักการพัฒนาทางเลือกสำหรับ SEA
  • เทคนิคและวิธีการพัฒนาทางเลือกสำหรับ SEA
โดย ดร.ชญาทัต เนียมแสวง
09.45 – 09.55 น. —–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
09.55 – 11.30 น. ช่วงที่ 7 : การเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติ (Workshop) เรื่อง การพัฒนาทางเลือก ดำเนินกระบวนการโดยวิทยากรกลุ่ม 3 กลุ่ม
11.30 – 12.00 น. ช่วงที่ 8 : การนำเสนอผลการพัฒนาทางเลือกสำหรับ SEA และร่วมกันอภิปรายซักถาม ตอบข้อสงสัย และสรุปบทเรียนการพัฒนาทางเลือก
12.00 – 13.00 น. —–—–พักรับประทานอาหารกลางวัน—–—–
13.00 – 13.30 น. ช่วงที่ 9 : การบรรยาย เรื่อง การประเมินทางเลือก
  • เทคนิคและวิธีการคาดการณ์และประเมินผลกระทบจากทางเลือก
  • เทคนิคและวิธีการเปรียบเทียบทางเลือก
13.30 – 14.30 น. ช่วงที่ 10 : การเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติ (Workshop) เรื่อง การประเมินทางเลือก ดำเนินกระบวนการโดยวิทยากรกลุ่ม 3 กลุ่ม
14.30 – 14.40 น. —–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
14.40 – 15.30 น. ช่วงที่ 10 : การเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติ (Workshop) เรื่อง การประเมินทางเลือก (ต่อ)
15.30 – 16.00 น. ช่วงที่ 11 : การนำเสนอผลการประเมินผลกระทบทางเลือกสำหรับ SEA และร่วมกันอภิปรายซักถาม ตอบข้อสงสัย และสรุปบทเรียนการประเมินผลกระทบทางเลือก
16.00 – 16.15 น. ทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรม (Post-test)
16.15 – 16.30 น. ปิดการฝึกอบรม
การพัฒนาคู่มือการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ
วัตถุประสงค์ของการประชุม
  • เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) คู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ ในเรื่องความเหมาะสมของเนื้อหาและองค์ประกอบ และการนำไปใช้ประโยชน์ของหน่วยงาน เพื่อนำไปจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ ให้มีความเหมาะสมต่อไป
  • เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กระบวนการ SEA เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ และแนวทางการพัฒนาคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ ตลอดจนความเชื่อมโยงของการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำด้วย SEA กับการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ (IWRM)
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้แทนหน่วยงานเจ้าของแผนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ เช่น สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมทรัพยากรน้ำ กรมควบคุมมลพิษ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการลุ่มน้ำต่าง ๆ เป็นต้น
วัน เวลา และสถานที่จัดการระดมความคิดเห็น
การประชุมระดมความคิดเห็นฯ ครั้งที่ 1 ในวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ โรงแรมปริ้นซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร การประชุมระดมความคิดเห็นฯ ครั้งที่ 2 ในวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2566 เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ โรงแรมปริ้นซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการ SEA ในการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ รวมทั้งได้คู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ
เอกสารประกอบการประชุม.

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

กำหนดการประชุมระดมความคิดเห็น
การพัฒนาคู่มือการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 1
วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ ห้องประชุมปริ๊ซ์ บอลรูม 3 โรงแรมปริ้นซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม
09.00 – 09.10 น. กล่าวเปิดการประชุม โดย ดร.วิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
09.10 – 09.30 น. ชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย รศ.ดร. วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ประจำปีงบประมาณ 2565
09.30 – 10.15 น. นำเสนอ (ร่าง) คู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ โดย รศ.ดร. วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ และ นางสินี ช่วงฉ่ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทางสังคม
10.15 – 10.30 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) คู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ บรรยายโดย รศ.ดร. วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ และนางสินี ช่วงฉ่ำ
10.15 – 10.25 น. ชี้แจงการปฏิบัติการกลุ่มย่อย ดำเนินกระบวนการ โดย นางสินี ช่วงฉ่ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสังคม
10.30 – 10.45 น. —–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
10.45 – 12.00 น. แบ่งกลุ่มย่อย เพื่อระดมความคิดเห็นต่อ (ร่าง) คู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
  • ความเหมาะสมขององค์ประกอบและเนื้อหา
  • การนำไปใช้ประโยชน์ของหน่วยงาน
  • ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง (ร่าง) คู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผน
ด้านทรัพยากรน้ำโดย คณะวิทยากร
  • รศ.ดร. วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ
  • นางสินี ช่วงฉ่ำ
  • ดร. กฤศ ฉายแสงเดือน ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
  • ดร. ชญาทัต เนียมแสวง ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
12.00 – 13.00 น. —–—–พักรับประทานอาหารกลางวัน—–—–
13.00 – 15.00 น. แบ่งกลุ่มย่อย เพื่อระดมความคิดเห็นต่อ (ร่าง) คู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ (ต่อ)
15.00 – 15.15 น. นำเสนอผลปฏิบัติการกลุ่ม
15.15 – 15.30 น. สรุปผลการระดมความคิดเห็นและปิดการประชุม
กำหนดการประชุมระดมความคิดเห็น
การพัฒนาคู่มือการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 2
วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2566 เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ ห้องประชุมปริ๊ซ์ บอลรูม 3 โรงแรมปริ้นซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม
09.00 – 09.10 น. กล่าวเปิดการประชุม โดย ดร.วิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
09.10 – 09.30 น. ชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย รศ.ดร. วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ประจำปีงบประมาณ 2565
09.30 – 10.15 น. การนำเสนอผลการระดมความคิดเห็น ครั้งที่ 1 และ (ร่าง) คู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ (ฉบับปรับปรุง) รวมทั้งถามตอบประเด็นข้อซักถาม โดย รศ.ดร. วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ
10.15 – 10.30 น. —–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
10.30 – 11.00 น. การนำเสนอแนวคิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรื่อง การจัดทำแผนด้านทรัพยากรน้ำด้วยกระบวนการ SEA และการใช้คู่มือ โดย คณะวิทยากร
12.00 – 13.00 น. —–—–พักรับประทานอาหารกลางวัน—–—–
13.00 – 14.30 น. การระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อย เรื่อง (ร่าง) คู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำ (ฉบับปรับปรุง) และการประยุกต์ใช้ (ร่าง) คู่มือเชิงประยุกต์ฯ (ต่อ) โดย คณะวิทยากร
14.30 – 14.45 น. —–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
14.45 – 15.15 น. การนำเสนอ เรื่อง การออกแบบกระบวนการมีส่วนร่วม ในการจัดทำแผนด้านทรัพยากรน้ำ ด้วย SEA รวมทั้งถามตอบประเด็นข้อซักถาม โดย นางสินี ช่วงฉ่ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทางสังคม
15.15 – 15.30 น. สรุปผลการประชุมและปิดการประชุม
การจัดทำคู่มือติดตามและประเมินผลการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)
วัตถุประสงค์ของการประชุม
  • เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการกำกับ ติดตาม และประเมินผล SEA ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ที่กำหนดไว้ในร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. ….
  • เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อ (ร่าง) คู่มือติดตามและประเมินผล SEA เพื่อนำไปปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ และสอดคล้องกับบริบทการจัดทำแผนด้วย SEA ของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มเป้าหมาย
  • หน่วยงานของรัฐที่ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. …. กำหนดให้มีการจัดทำแผนด้วย การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
  • หน่วยงานของรัฐที่มีประสบการณ์ในการกำกับการจัดทำ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
  • ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
  • เจ้าหน้าที่ สศช. ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้ง เจ้าหน้าที่ที่จะทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. ….
วัน เวลา และสถานที่จัดการระดมความคิดเห็น
การประชุมระดมความคิดเห็นฯ วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 13.30 น. ณ ห้องราชดำเนิน ชั้น 1 โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพมหานคร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นจะมีความรู้ความเข้าใจในการกำกับ ติดตาม และประเมินผล SEA ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ที่กำหนดไว้ใน ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. …. และที่ปรึกษาฯ จะได้รับความคิดเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อ (ร่าง) คู่มือติดตามและประเมินผล SEA เพื่อนำไปปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ และสอดคล้องกับบริบทการจัดทำแผนด้วย SEA ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดการประชุมระดมความคิดเห็น
คู่มือติดตามและประเมินผลการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)
วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 13.30 น. ห้องราชดำเนิน ชั้น 1 โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพมหานคร

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม
09.00 – 09.15 น. กล่าวเปิดการประชุม โดย นางสาวนุชจรี วงษ์สันต์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน
09.15 – 09.45 น. ชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย รศ.ดร. วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ประจำปีงบประมาณ 2565
09.45 – 10.15 น. การนำเสนอ เรื่อง หลักการและกรอบแนวคิดของการติดตามและประเมินผล SEA โดย นายจักรกริช ธรรมศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนและติดตามและประเมินผล
10.15 – 10.30 น. —–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
10.30 – 11.15 น. การนำเสนอ เรื่อง วิธีการติดตามและประเมินผล SEA โดย นายจักรกริช ธรรมศิริ
11.15 – 12.30 น. การปรึกษาหารือเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อการติดตามและประเมินผล SEA โดย อาจารย์สินี ช่วงฉ่ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสังคม
12.30 – 13.30 น. —–—–พักรับประทานอาหารกลางวัน—–—–
วัตถุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แนวทางและวิธีการติดตามและประเมินผล SEA ตามคู่มือการติดตามและประเมินผล SEA (ฉบับปรับปรุง) ที่เน้นการวิเคราะห์การประเมินผลคุณภาพเชิงระบบ คุณภาพของกระบวนการจัดทํา SEA และผลลัพธ์ของ SEA
กลุ่มเป้าหมาย
  • หน่วยงานของรัฐที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. …. กำหนดให้มีการจัดทำแผนด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
  • หน่วยงานของรัฐที่มีประสบการณ์ในการกำกับการจัดทำ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
  • ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
  • เจ้าหน้าที่ สศช. ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้ง เจ้าหน้าที่ที่จะทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. ….
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้าร่วมการอบรมจะมีความรู้ความเข้าใจในแนวทางและวิธีการติดตามและประเมินผล SEA ตามคู่มือการติดตามและประเมินผล SEA (ฉบับปรับปรุง) เพื่อนำไปใช้การติดตามและประเมินผลการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ต่อไป
กำหนดการประชุมระดมความคิดเห็น
การฝึกอบรม เรื่อง การถ่ายทอดองค์ความรู้การนำคู่มือติดตามและประเมินผล การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ ห้องปิ่นเกล้า โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว กรุงเทพมหานคร

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการฝึกอบรม
09.00 – 09.15 น. กล่าวเปิดการประชุม โดย ดร.วิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
09.15 – 09.45 น. การชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม โดย รศ.ดร. วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ประจำปีงบประมาณ 2565
09.45 – 12.00 น. การถ่ายทอดองค์ความรู้และคำแนะนำในการติดตามและประเมินผล SEA ในประเทศไทย โดยนำเสนอแนวทาง วิธีการ และคำแนะนำในการวิเคราะห์และประเมินคุณภาพของ SEA และประสิทธิผลของ SEA ในบริบทของประเทศไทยที่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดย นายจักรกริช ธรรมศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนและติดตามและประเมินผล
12.00 – 13.00 น. —–—–พักรับประทานอาหารกลางวัน—–—–
13.00 – 15.00 น. การถ่ายทอดองค์ความรู้และคำแนะนำในการติดตามและประเมินผล SEA ในประเทศไทย (ต่อ)
15.00 – 15.30 น. การรับฟังคำแนะนำ ความคิดเห็น และข้อสังเกตของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม
การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ
วัตถุประสงค์ของการประชุม
  • เพื่อนำเสนอ (ร่าง) คู่มือการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ ที่ผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปพัฒนาและจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพต่อไป
  • เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ SEA ในบริบทด้านมรดกโลก ความเชื่อมโยงเพื่อการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติกับ SEA และการประยุกต์ใช้กระบวนการ SEA ในการจัดทำแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการนำคู่มือการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เชิงประยุกต์ ไปประยุกต์ใช้กับการวางแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนให้สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรม
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้เข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็นฯ ครั้งที่ 1 จำนวนอย่างน้อย 40 คน ประกอบด้วย ผู้แทนของหน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมชลประทาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น และภาคประชาสังคม เช่น สมาคมอุทยานแห่งชาติ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นต้น ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ
วัน เวลา และสถานที่จัดการระดมความคิดเห็น
การประชุมระดมความคิดเห็นฯ ครั้งที่ 1 ในวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.30 – 13.00 น. ณ ห้องแมนดาริน บี โรงแรมแมนดาริน (สามย่าน) กรุงเทพมหานคร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ได้รู้ถึงความสำคัญของกระบวนการ SEA ในการสนับสนุนการจัดทำคู่มือเพื่อการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของพื้นที่ทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
กำหนดการประชุมระดมความคิดเห็น
การพัฒนาคู่มือการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ ครั้งที่ 1
วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.30 – 13.00 น. ณ ห้องแมนดารินบี โรงแรมแมนดาริน (สามย่าน) กรุงเทพมหานคร

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม
09.00 – 09.15 น. กล่าวเปิดการประชุม โดย ดร.วิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
09.10 – 09.30 น. ชี้แจง วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมกลุ่มย่อยฯ ในการจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ (ครั้งที่ 1) โดย รศ.ดร. วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ประจำปีงบประมาณ 2565
09.30 – 10.00 น. บรรยาย เรื่อง “ระบบการจัดทำแผนจัดการพื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่และข้อคิดต่อการประยุกต์ใช้ SEA ในการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ” โดย นางสุนีย์ ศักดิ์เสือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทางสังคม
10.00 – 10.15 น. —–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
10.15 – 11.00 น. นำเสนอสาระสำคัญของ (ร่าง) คู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ โดย ดร.ชญาทัต เนียมแสวง ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEA
11.00 – 12.00 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) คู่มือ SEA เชิงประยุกต์ เพื่อการวางแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ โดย ดร.ชญาทัต เนียมแสวง
12.00 – 12.15 น. สรุปและกล่าวปิดการประชุมฯ
12.15 – 13.00 น. —–—–พักรับประทานอาหารกลางวัน—–—–
(ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. ….
กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนของหน่วยงาน
วัตถุประสงค์การประชุมระดมความคิดเห็น
  • เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของการประกาศใช้ (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. …. ที่มีต่อการนำกระบวนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ไปจัดทำแผนตามภารกิจของหน่วยงานที่กฎหมายกำหนด
  • เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อน SEA เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามหลักการและขอบเขตของ (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้เข้าร่วมประชุมระดมความคิดเห็นฯ จำนวน 53 คน ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานเจ้าของแผนที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น
รูปแบบการประชุมระดมความคิดเห็น
  • ช่วงที่ 1 การบรรยาย เรื่อง ที่มาและวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
  • ช่วงที่ 2 การบรรยาย เรื่อง วิธีการและประเด็นการระดมความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. …. ที่มีต่อการนำกระบวนการ SEA ไปจัดทำแผนตามภารกิจของหน่วยงานที่กฎหมายกำหนดไว้ โดย ศ.ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  • ช่วงที่ 3 การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น
    • การระดมความคิดเห็น ช่วงที่ 1 หัวข้อเรื่อง แผนที่พิจารณาทำ SEA ตาม (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
    • การระดมความคิดเห็น ช่วงที่ 2 หัวข้อเรื่อง ผลกระทบของการประกาศใช้ (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ต่อการบูรณาการ SEA ในการจัดทำแผนตามภารกิจของหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด และข้อเสนอแนะในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการจัดทำ SEA ตาม (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
  • โดยวิทยากรประจำกลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 คือ ศ.ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ กลุ่มที่ 2 คือ ดร.กฤศ ฉายแสงเดือน กลุ่มที่ 3 คือ รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ กลุ่มที่ 4 คือ ดร.ชญาทัต เนียมแสวง และกลุ่มที่ 5 คือ อาจารย์ สินี ช่วงฉ่ำ
วัน เวลา และสถานที่จัดการประชุมระดมความคิดเห็น
วันอังคารที่ 7 มีนาคม 2566 เวลา 08.30 – 15.30 น.
ณ ห้องประชุมราชา 1 โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผลการประเมินผลกระทบของการออก (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ที่มีต่อการนำกระบวนการSEA ไปจัดทำแผนตามภารกิจของหน่วยงานที่กฎหมายกำหนดไว้
  • ข้อเสนอแนะในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการจัดทำ SEA และข้อเสนอแนะในการออกประกาศกำหนด เพื่อสนับสนุนหน่วยงานในการจัดทำแผนด้วย SEA อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
กองยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กำหนดการประชุมระดมความคิดเห็น
(ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. ….
กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนของหน่วยงาน
วันอังคารที่ 7 มีนาคม 2566 เวลา 08.30 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุมราชา 1 โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร

08.30 – 09.30 น.ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม
09.30 – 09.45 น.กล่าวเปิดการอบรม
โดย ดร.วิชญายุทธ บุญชิต
รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
09.45 – 10.00 น.การบรรยาย เรื่อง ที่มาและวัตถุประสงค์ของการประชุม
โดย รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
10.00 – 10.30 น. การบรรยาย เรื่อง วิธีการและประเด็นการระดมความคิดเห็นต่อ
(ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. …. ที่มีต่อการนำกระบวนการ SEA ไปจัดทำแผนตามภารกิจของหน่วยงานที่กฎหมายกำหนดไว้
โดย ศ.ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม
10.30 – 10.45 น.—–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
10.45 – 12.00 น.

การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น ช่วงที่ 1:
แผนที่พิจารณาทำ SEA ตาม (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ โดย

  • ศ.ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  • รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
  • อ.สินี ช่วงฉ่ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสังคม
  • ดร.กฤศ ฉายแสงเดือน ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
  • ดร.อนุวรรตน์ ศรีสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนยุทธศาสตร์
12.00 – 13.00 น.—–—–พักรับประทานอาหารกลางวัน—–—–
13.00 – 14.30 น.

การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น ช่วงที่ 2:

  • ผลกระทบของการออก (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ที่มีต่อการนำกระบวนการ SEA ไปจัดทำแผนตามภารกิจของหน่วยงานที่กฎหมายกำหนดไว้
  • ข้อเสนอแนะในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการจัดทำ SEA ตาม (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ โดย คณะวิทยากร
14.30 – 15.00 น.การนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย
15.00 – 15.15 น.—–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
15.15 – 15.45 น.การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม โดย คณะวิทยากร
15.45 – 16.00 น.สรุปผลการประชุมระดมความคิดเห็นและปิดการประชุม
 

การสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “บทเรียนจากการจัดทำแผนด้วย SEA สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
วัตถุประสงค์ของการสัมมนาเชิงวิชาการ
  • เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนและประสบการณ์จากการจัดทำแผนด้วย SEA ของหน่วยงานต่าง ๆ ในการสนับสนุนการนำ SEA ไปใช้ในการจัดทำแผนตามประเภทของแผนที่กำหนดไว้ในร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. …. ให้สามารถนำไปใช้ในการจัดทำแผนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อเสริมสร้างความความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกลไกขับเคลื่อน SEA โดยเฉพาะการใช้กฎหมายในการขับเคลื่อน SEA ในการจัดทำแผนให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปพัฒนาการขับเคลื่อนงาน SEA ของประเทศต่อไป
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงวิชาการจำนวน 81 คน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม เป็นต้น ตลอดจนภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
วัน เวลา และสถานที่จัดการระดมความคิดเห็น
การสัมมนาเชิงวิชาการ ในวันอังคารที่ 24 มกราคม 2566 เวลา 08.30 – 14.00 น.
ณ ห้องจามจุรี บอลรูม เอ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
มีเวทีสำหรับให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากหน่วยงานที่เคยจัดทำกระบวนการ SEA ด้วยความสมัครใจและหน่วยงานที่จะต้องจัดทำแผนด้วยกระบวนการ SEA ตามประเภทที่ระบุไว้ในร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมิน
สิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ ….. ที่ต้องเตรียมความพร้อมในการดำเนินการหลังจากร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ…. บังคับใช้ รวมทั้งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ สศช. ในการนำข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ได้จากการสัมมนาในครั้งนี้ไปเพิ่มเติมใน
การจัดทำคู่มือ SEA เชิงประยุกต์ได้อย่างถูกต้องและสะท้อนข้อเท็จจริงได้อย่างเหมาะสมตามบริบทของประเทศต่อไป
กำหนดการสัมมนาเชิงวิชาการ
เรื่อง “บทเรียนจากการจัดทำแผนด้วย SEA สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
วันอังคารที่ 24 มกราคม 2566 เวลา 08.30 – 14.00 น.
ณ ห้องจามจุรี บอลรูม เอ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร

08.30 – 09.15 น.ลงทะเบียนเข้าร่วมการสัมมนา
09.15 – 09.30 น.กล่าวเปิดการสัมมนา
โดย ดร.วิชญายุทธ บุญชิต
รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
09.30 – 10. 45 น.

การเสวนาวิชาการ หัวข้อ “ประสบการณ์จากผู้จัดทำแผนด้วยกระบวนการ SEA”
ผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย

  • นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท
    ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
  • นายดุลยฤทธิ์ หอมนาน
    ผู้อำนวยการกลุ่มแผนแม่บท สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
  • นางเสาวภา หิญชีระนันทน์
    ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ดร.วิเทศ ศรีเนตร
    ที่ปรึกษาบริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด
  • นางสุนีย์ ศักดิ์เสือ
    ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ดำเนินกระบวนการ โดย
ดร.ชญาทัต เนียมแสวง ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์

10.45 – 11.00 น.ช่วงแลกเปลี่ยน ถาม-ตอบ
11.00 – 11.15 น.—–—–พักรับประทานอาหารว่าง—–—–
11.15 – 12.00 น.การบรรยาย หัวข้อ “การใช้กฎหมายสนับสนุนการขับเคลื่อน SEA ทั้งในและต่างประเทศ”
โดย ศ.ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม
12.00 – 12.15 น.สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
12.15 – 12.30 น.กล่าวปิดการสัมมนา
12.30 – 14.00 น.—–—–พักรับประทานอาหารกลางวัน—–—–